ศูนย์ความร่วมมือการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉิน      Collaborative Center for Risk Management and Emergency Safety

ความเป็นมาและความสำคัญ

            จากการที่องค์กรต่าง ๆ เกิดขึ้นมาแล้ว มีความคาดหวังว่า จะต้องมีทีมมืออาชีพเข้าช่วยเหลือในสถานการณ์เหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติต่าง ๆ ได้นั้น  แต่จากที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ โครงการ MOFE นี้ จึงเป็นโครงการที่เกิดขึ้นเพื่อต้องการที่จะฝึกให้ความรู้และสร้างมาตรฐานให้กับผู้ที่อยู่ในหน่วยงานนั้น ๆ ให้สามารถจัดการเหตุฉุกเฉินต่าง ๆ ได้ทันทีในวินาทีแรก และโดยที่สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA ก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ 2540 ได้เริ่มดำเนินการด้วยหลักการดังกล่าวภายใต้ชื่อว่า ERT- ICS ระบบการจัดการทันทีในวินาทีแรก และได้ทำการเผยแพร่โดยการฝึกอบรมทั้งด้านการวางแผน การลงมือปฏิบัติ และได้ฝึกซ้อมโดยที่มีหลักการว่าให้ทุกคนมีความรัก มีความปรารถนาที่จะให้เกิดความปลอดภัยอย่างแท้จริงและยั่งยืน ด้วยข้อสรุปเป็นคำขวัญว่า

“ทำได้เมื่อภัยมา รู้ปัญหาเพื่อแก้ไข เป็นขวัญกำลังใจ เพื่อให้รักสามัคคี”

        เมื่อปี พ.ศ. 2561 คณะผู้บริหารศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี นำโดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ แพทย์หญิงนันทนา  ชุมช่วย อดีตผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่งคณบดีคณะแพทยศาสตร์ ได้เชิญสมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA มาดำเนินการฝึกอบรมให้ความรู้แก่บุคลากรเพื่อบริหารจัดการแผนการเตรียมความพร้อมรับภัยพิบัติต่าง ๆ ในวินาทีแรก ด้วยระบบบัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน (ERT-ICS) เพื่อให้ผู้ปฏิบัติงานในหน่วยงานนั้น ๆ ที่ได้รับการฝึก สามารถจัดการภัยพิบัติต่าง ๆ ได้ตั้งแต่วินาทีแรก ก่อนมืออาชีพมาถึง โดยที่ผ่านมาศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ได้จัดการฝึกอบรมเพื่อพัฒนาบุคลากรมาแล้วอย่างต่อเนื่องในหลักสูตรต่าง ๆ ดังนี้  

  • ERT-C2 ระบบบัญชาการสถานการณ์ฉุกเฉิน จำนวน 5 รุ่น
  • ERT-C3 วิทยากรครู ก. จำนวน 3 รุ่น และ
  • ERT-C4 ผู้นำหน่วย จำนวน 1 รุ่น

อีกทั้งสมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA ได้ดำเนินการฝึกอบรมและให้ความรู้แก่หน่วยงานต่าง ๆ มากกว่า 200 หน่วยงาน ซึ่งเป็นโรงพยาบาล มากกว่า 100 หน่วยงาน จึงได้มีความคิดที่จะต่อยอดให้กับหน่วยงานอื่นๆ ที่ยังไม่มีประสบการณ์และความรู้ดังกล่าวทั้งในและต่างประเทศ จากสิ่งที่เป็นหลักการทางความคิดของสมาคมฯ FARA นั้น ได้รับการยืนยันว่ามีหน่วยงานหลาย ๆ หน่วยงานให้การสนับสนุนและเห็นว่าเป็นหลักการที่มีความเหมาะสมต่อยุคปัจจุบันเป็นอย่างยิ่ง     

                                     
ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินการตามหลักการดังกล่าวมีความชัดเจนทางด้านทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งเป็นการขยายผลให้หน่วยงานต่าง ๆ ที่มีลักษณะการปฏิบัติงานคล้ายโรงพยาบาล  อันมีผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้อยู่เป็นจำนวนมาก สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA จึงต้องการที่จะหาแนวร่วมเพื่อการวางแผน เตรียมพร้อม ฝึกซ้อมเป็นประจำจนเป็นนิสัย ให้ได้ตามความมุ่งหวัง และด้วยที่สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA  ได้ร่วมปฏิบัติงานด้วยหลักการดังกล่าวกับศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเพทรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี (MSMC) มาเป็นเวลากว่า 6 ปี จึงได้มีความคิดที่จะขยายผลโดยที่มีแนวร่วมอันทรงด้วยองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเป็นระบบ ชัดเจน และเป็นสากล จึงได้มีดำริที่จะจัดตั้งเป็นศูนย์ความร่วมมือการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉินขึ้นเพื่อให้เกิดการพัฒนาและสร้างเครือข่ายอย่างต่อเนื่องและยั่งยืนในอนาคต

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยและสร้างนวัตกรรมทางการศึกษาในเรื่องที่เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะฉุกเฉิน
  2. เพื่อส่งเสริมความร่วมมือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งใน และนอกประเทศในการเผยแพร่งานวิจัยและนวัตกรรมที่

     เกี่ยวข้องกับการจัดการภาวะฉุกเฉิน

  • เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีให้เกิดแก่เครือข่ายศูนย์ความร่วมมือการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉินทั้งในระดับชาติ และนานาชาติ
  • เพื่อกระตุ้นเครือข่ายให้เกิดการดำเนินการศูนย์ความร่วมมือการบริหารความเสี่ยงและความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉินด้วยความต่อเนื่อง เหมาะสม จนเกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืน

วิธีดำเนินการ

     คณะทำงานที่จะดำเนินการ เป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ จาก MSMC-OTT-FARA-ECT โดยไม่มีค่าตอบแทน

คณะทำงาน

    1) MSMC

        ที่ปรึกษา

               1.  ผศ.พญ.นันทนา   ชุมช่วย               คณบดีคณะแพทยศาสตร์
               2.  ผศ.นพ.ฐิติณัฐ     ดิลกหัตถการ        ผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ

               3.  รศ.นพ.วิชิต        วิริยะโรจน์             รองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ ฝ่ายบริหาร

               4.  ดร.ประภาดา      วัชรนาถ                รองผู้อำนวยการศูนย์การแพทย์ฯ ฝ่ายการพยาบาล

         คณะทำงาน
              
1.  ดร.เกษทิพย์      ปลื้มวงษ์               หัวหน้าคณะทำงาน
               2.  นายภิรมย์        ทองสิบวงษ์             รองหัวหน้าคณะทำงาน
               3.  ทีม ERT-C3, C4                           คณะทำงาน

     2) OTT

         คณะทำงาน

  1. ว่าที่ร้อยเอกศิริพงษ์  สนานคุณ            หัวหน้าคณะทำงาน

    2. พันเอกภาสกร        ยะสะวุฒิ               รองหัวหน้าคณะทำงาน (รองผู้อำนวยการศูนย์ฝึกบรรเทา

                                                               สาธารณภัย หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา)

3. นายสิทธิโชค         เหลาโชติ              คณะทำงาน       (วิศกรรมสถานแห่งประเทศไทย)

4. พันตรีหญิงแสงอุษา ชื่นนิโรธ       คณะทำงาน      

5. นายกฤตกร          วงศ์ศรี         คณะทำงาน        (นักวิจัย ศูนย์วิจัย ERIG)

   3) FARA

      คณะที่ปรึกษา

    1. อาจารย์ทินวัฒน์    มฤคพิทักษ์       อดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข
    2. Datuk Dr. Soh Chai Hock           Malaysia

    3. นายนรธา  มณีนาค                      นายกสมาคมอารักขาบุคคลสำคัญ

    4. แพทย์หญิงภัทรานิษฐ์  ภัทรพรเจริญ  อาจารย์วิชาเวชศาสตร์ฉุกเฉิน คณะแพทย์ศาสตร์ รพ.รามาธิบดี
    5. แพทย์หญิงเยาวภา  ศิริปการ           แพทย์เวชศาสตร์ฉุกเฉิน รพ.ธรรมศาสตร์

 คณะทำงาน

  1. นายคณาทัต   จันทร์ศิริ     หัวหน้าคณะทำงาน  (สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA)
  2. นางจงกลณี    จันทร์ศิริ     รองหัวหน้าคณะทำงาน  (สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA)
  3. นายพงศา      แสนใจงาม            คณะทำงาน   (นายกบริหารสมาคมฯ FARA)
  4. นายสวัสดิ์      เจริญวรชัย            คณะทำงาน   (อุปนายกสมาคมฯ FARA)
  5. ดร.จิรพร       เจริญสุข                 คณะทำงาน  (ประธานฝ่ายวิชาการ FARA)

6. Mr.Andy      Maniam              คณะทำงาน   (President FARA International , Malaysia)

7. Mr.Bhushan  Singh                 คณะทำงาน   (Vice President FARA International, Nepal)

8. นางกรขวัญ   จันทร์ศิริ ว่องวิการ     คณะทำงาน   (สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA)

9. นายไตรภพ   ว่องวิการ                 คณะทำงาน   (สมาคมการดับเพลิงและช่วยชีวิต FARA)

10.  นางสาวฉันทนา    เครือวัลย์         คณะทำงาน    (โรงพยาบาลพญาไท 1)

11. ดร.จันทร์ฉาย       ทองเพ็ญ          คณะทำงาน    (โรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์)
12. เภสัชกรชวดล       ช่วงสกุล           คณะทำงาน    (โรงพยาบาลศรีสะเกษ)              

13. ดร.ทัศนีย์            ลิมปิโภสณ      คณะทำงาน    (ศูนย์การแพทย์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี)

14.   นางสาวธนันพัชญ์  นันทภัคพงศ์       คณะทำงาน    (โรงพยาบาลระนอง)

15.   นางสาวมลทิพย์    ฉวบพรมอินทร์   คณะทำงาน   (โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี)
16.   นางสานุรี            ปิยะศิลป์          คณะทำงาน    (โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี)

17.   นางสาวจันทร์จิรา  เพชรรอด          คณะทำงาน    (โรงพยาบาลสุราษฎร์ธานี)

18.   นายพรสันติ์        ชนะดวงใจ        คณะทำงาน    (โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา)

ฯลฯ

   4) ECT        

คณะทำงาน
              1. นายประสิทธิ์       พูลศิลป์           หัวหน้าคณะทำงาน
                 โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา ประธานสภา ERT ประเทศไทย
              2. นายเกรียงไกร  อ่วมอ่ำ            รองหัวหน้าคณะทำงาน
                 โรงพยาบาลอุตรดิตถ์ รองประธานสภา ERT ภาคเหนือ
              3. นางพิชญามณฑน์   มุขแม้นเหมือน            รองหัวหน้าคณะทำงาน
                  โรงพยาบาลวชิระภูเก็ต รองประธานสภา ERT ภาคใต้
              4. นางวรรณา          ทิพย์ประภาแย้ม           รองหัวหน้าคณะทำงาน
                  โรงพยาบาลระยอง รองประธานสภา ERT ภาคตะวันออก
              5. นางสาวกาหลง      ยิ่งภิญโญ                   รองหัวหน้าคณะทำงาน
                  โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา รองประธานสภา ERT ภาคตะวันตก
          6. ร.ต.ท.หญิง กัลยาณี  วรรณภาสนี                  รองหัวหน้าคณะทำงาน
                  โรงพยาบาลศรีสะเกษ รองประธานสภา ERT ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
               7. ดร.ประพิมพักตร์      เถื่อนสุคนธ์             รองหัวหน้าคณะทำงาน
                  องค์การเภสัชกรรม รองประธานสภา ERT     ภาคกลาง