สมาคมฯFARA ถือกำเนิดเมื่อ วันที่ 31 ตุลาคม 2540 (ค.ศ. 1997) โดยมี อ.คณาทัต จันทร์ศิริ (อ.ทอม) เป็นนายกก่อตั้ง ร่วมกับ นักวิชาการ ข้าราชการ ผู้บริหารองค์การ ในทุกแขนงวิชาการร่วมสนับสนุน งานทั้ง 3 ด้าน คือ Safety Health Environment โดยที่งานด้าน Safety มีการจัดโครงการดังนี้ คือ
1.สร้างมาตรฐานการจัดการภัยพิบัติตั้งแต่เริ่มเกิดเหตุให้พ้นวิกฤตก่อนมืออาชีพจะมาถึง (ERT-ICS) โดยใช้มาตรฐานที่เป็นที่ยอมรับโดยนานาชาติ นั้นคือการสร้างทีมตอบโต้เหตุฉุกเฉิน ERT Emergency Response Team ให้กับชุมชนต่างๆ เช่น บ้าน วัด โรงเรียน โรงพยาบาล โดยเรียกย่อๆว่า “บวรบาล” โดยจำแนกระดับ ทีมฉุกเฉิน ERT เป็น 4 ระดับ (Class)
1.ERT Class1 ระดับ สามัญ โดยมีเป้าหมายให้ “ดับไฟได้ ย้ายผู้ป่วยเป็น เน้นจิตอาสา”
2.ERT Class2 ระดับ ปฏิบัติการ ต้องเป็น ERT-C1 เข้าอบรมต่อเนื่อง โดยมีเป้าหมายให้สามารถ “กำจัดสาเหตุ คุมเขตลุกลาม ลดความสูญเสีย” โดยใช้เวลาอบรมไม่น้อยกว่า 4 วัน และต้องฝึกซ้อมอพยพตามแผนฉุกเฉิน ไม่น้อยกว่า 4 วัน
ในโรงพยาบาลหรือสถานประกอบกิจการที่มีมาตรฐานคุณภาพ จะต้องจัดทำคู่มือการป้องกันระงับอัคคีภัย โดยใช้เวลาอีก 3 วัน
3.ERT Class3 ระดับ วิทยากร ครู ก. ต้องเป็น ERT-C2 มาเข้ารับการอบรมต่อเนื่องที่ศูนย์ฝึก สมาคม FARA ไม่น้อยกว่า 4 วัน
4.ERT Class4 ระดับ ผู้นำหน่วย คือ ERT-C3 ที่เข้ารับการอบรมหลักสูตรต่อเนื่อง โดยใช้เวลาไม่น้อยกว่า 4 วัน พร้อมส่งผลงานสาระนิพนธ์และร่วมเดินทางดูงานต่างประเทศกับสมาคมฯFARA
ตัวอย่างหัวข้อวิชา ที่ ERT จะได้รับการเรียนรู้และฝึกฝน
หมวดการดับเพลิง
-เพลิงไหม้ ปัญหาและสาเหตุ
-การดับเพลิงเบื้องต้น ภาคทฤษฎี
-การใช้เครื่องดับเพลิงชนิดต่างๆ
-การใช้สายส่งน้ำดับเพลิง
-การเข้าแผนดับเพลิง
-การใช้อุปกรณ์ดับเพลิงประจำอาคาร
-การสำรวจอุปกรณ์เกี่ยวกับการป้องกันอัคคีภัยในสถานประกอบกิจการ
-การซ้อมอพยพเมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้
-การเขียนเหตุการณ์สมมุติกรณีเกิดเหตุเพลิงไหม้
หมวดกู้ภัย
-การยกเคลื่อนย้ายผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัยในลักษณะต่างๆ
-การใช้เปลผ้าใบฉุกเฉิน Soft stretcher
-การเคลื่อนย้ายผู้ป่วยลงจากอาคารสูงด้วยรอกหนีไฟ
-การส่งต่อผู้ป่วย
-การจัดพื้นที่จุดรวมพล
-การใช้อุปกรณ์ต่างๆ
-การจัดระเบียบคนหมู่มาก
-การจัดบุคลากรตามแผนฉุกเฉิน CARMeLo
หมวดกู้ชีพ
-การให้อ็อกซิเจนกับผู้ป่วยหรือผู้ประสบภัย Oxygen therapy
-การทำความรู้จักกับยาที่ใช้ในภาวะฉุกเฉิน
-การเป็นผู้ช่วยใช้อุปกรณ์ Defibrillation
หลังจากากรอบรม ERT ผ่านไปประมาณ 10 ปี สมาคมจึงจัดตั้ง สภา ERT ประเทศไทย Emergency Response Team Council of Thailand เพื่อให้ ERT ของแต่ละหน่วยงานนำความรู้ ความคิด และประสบการณ์ในการดำเนินงานของแต่ละหน่วยงานมาเผยแพร่ความรู้ ที่เรียกว่า ระบบ ERT-ICS ต่อไป
2.ปลูกฝังความรู้ ความคิด และจิตสำนึก เรื่องความปลอดภัยในภาวะฉุกเฉิน ให้กับเด็กและเยาวชน ในโครงการ เด็กดับไฟ Young Fire Fighter โดยนำความรู้มาจากหลักสูตร Learn Not to Burn ของ NFPA สหรัฐอเมริกา มาพัฒนาต่อยอดให้เหมาะสมกับประเทศไทย และสมาชิกนานาชาติ ที่ส่งเด็กและเยาวชนเข้าร่วมอบรม ภายใต้การดำเนินงาน ของสภาเด็กดับไฟนานาชาติ Young Fire Fighter International Council
3.โครงการช่วยชีวิตผู้ป่วยวิกฤตในโรงพยาบาลอาคารสูง High-rise Hospital Safety : HHS ที่มุ่งเน้นปัญหาภัยพิบัติที่จะเกิดขึ้นในโรงพยาบาลที่มีอาคารสูง ทำให้การอพยพเคลื่อนย้ายผู้ป่วยที่ช่วยตัวเองไม่ได้ ตกอยู่ในภาวะอันตราย ซึ่งโครงการนี้ได้เริ่มต้นตั้งแต่ พ.ศ. 2559 ที่โรงพยาบาลเชียงรายประชานุเคราะห์
ในโครงการนี้ สมาคมฯ ได้ดำเนินการทั้งด้านการฝึกเจ้าหน้าทึ่ในหอผู้ป่วย รวมทั้งการจัดหาเครื่องมือทึ่สำคัญในการอพยพผู้ป่วย อาทิ รอกหนีไฟ Fire Escape Device และ เปลผ้าใบฉุกเฉิน Soft Stretcher
4.โครงการปลีกย่อยต่างๆ ซึ่งปัจจุบันนี้ไม่ได้ดำเนินการอย่างถาวร เช่น โครงการเสริมความปลอดภัยให้คนพิการ และโครงการเสริมความปลอดภัยให้สามเณรและภิกษุ (ซึ่งต่อมา อ.สวัสดิ์ ประธานกลุ่ม Leader Fire นำไปดำเนินการต่อ)
งานด้าน Heath สุขภาวะทางร่างกายและจิตใจ
สมาคมฯ ได้จัดเป็นโครงการ Easy Healing โดยเน้นการรักษาที่หลีกเลี่ยงการใช้ยา อันมีผลกระทบต่อร่างการอย่างร้ายแรง โดยหันมามุ่งเน้นงานแพทย์ทางเลือกที่นำเอาผลผลิตจากสมุนไพรมาใช้บำบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Essential Oil (น้ำมันสกัดเทคโนโลยีสูงและสมุนไพร ที่มีมาตรฐานสากล)
งานด้าน Environment สิ่งแวดล้อมอันสำคัญต่อมนุษย์
สมาคมฯ ได้จัดเป็นโครงการ Saving Energy โดยร่วมกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านสิ่งแวดล้อมและการประหยัดพลังงานเข้ามาเตรียมศูนย์การเรียนรู้ เพื่อการประหยัดพลังงาน อันมีผลต่อการรักษาสิ่งแวดล้อมของโลก อย่างจริงจังและชัดเจนขึ้น
ในการดำเนินงานดังที่กล่าวข้างต้นมานี้ สมาคมฯFARA ได้รับความร่วมมืออย่างใกล้ชิดจากสมาชิกประเทศต่างๆ รวมทั้งสิ้นถึงปัจจุบันนี้ 9 ประเทศ คือ
1.ประเทศอินเดีย FARA India โดยประธาน Mr. Abdul Hamid
2.ประเทศญี่ปุ่น FARA Japan โดยประธาน Mr. Garmal
3.ประเทศเกาหลี FARA Korea โดยประธาน Mr.JH. Arn
4.ประเทศมาเลเซีย FARA Malaysia โดยประธาน Mr. Choi
5.ประเทศเมียนม่า FARA Myanmar โดยประธาน Mr.Ronnie Lwin
6.ประเทศNepal FARA Nepal โดยประธาน Mr.Suman Adhigari
7.ประเทศฟิลิปปินส์ FARA Philippines โดยประธาน Wong Seik Min
8.ประเทศสิงคโปร์ FARA Singapore โดยประธาน Mr.James Teo
9.ประเทศไทย FARA Thailand โดยประธาน อ.พงศา แสนใจงาม
โดยมีคณะกรรมการบริหารทั้งหมดนี้ ดำเนินการภายใต้ชื่อว่า FARA International ซึ่งมีที่ปรึกษา คือ
1.Datuk Dr.Soh chai hok (Malaysia)
2.ProfessorMaria (Malaysia)
3.Tuan Kairudin (Malaysia)
4.อ.ทินวัฒน์ มฤคพิทักษ์ (Thailand)
โดยมีผู้ทำหน้าที่เป็น ประทานกรรมการ Chairman โดย อ.คณาทัต จันทร์ศิริ
ประทานบริหาร President Andy Maniam
รองประทานบริหาร Vice President Bhushan Singh